|
เป็นเวลาของ |
สิ่งที่ควรทำ |
1.00-3.00 |
ตับ |
นอนหลับให้สนิท |
3.00-5.00 |
ปอด |
ตื่นนอน สูดอากาศบริสุทธิ์ |
5.00-7.00 |
ลำไส้ใหญ่ |
ขับถ่ายอุจจาระ |
7.00-9.00 |
กระเพาะอาหาร |
รับประทานอาหารเช้า |
9.00-11.00 |
ม้าม |
พูดน้อย กินน้อย ไม่นอนหลับ |
11.00-13.00 |
หัวใจ |
หลีกเลี่ยงความเครียด |
13.00-15.00 |
ลำไส้เล็ก |
งดกินอาหารทุกประเภท |
15.00-17.00 |
กระเพาะปัสสาวะ |
ออกกำลังกายหรืออบตัวให้เหงื่อออก |
17.00-19.00 |
ไต |
ทำให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอน |
19.00-21.00 |
เยื่อหุ้มหัวใจ |
ทำจิตใจให้สงบ หรือสวดมนต์ |
21.00-23.00 |
พลังงานรวม |
ห้ามอาบน้ำเย็น ทำร่างกายให้อบอุ่น |
23.00-1.00 |
ถุงน้ำดี |
ดื่มน้ำก่อนเข้านอน |

- ช่วงเวลา 01.00-03.00 น. นั้นเป็นช่วงเวลาทำงานของตับ เหตุเพราะตับทำหน้าที่ในการขจัดของเสียออกจากร่างกายเรา อีกทั้งยังผลิตอินซูลินและผลิตน้ำดีไว้ย่อยไขมันอีกด้วย การนอนหลับสนิท เป็นการส่งเสริมให้ตับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ในช่วงเวลานี้ไม่ควรทานอาหารใด ๆ เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักขึ้น และทำให้เกิดสารพิษตกค้างในตับอีกด้วย ฉะนั้น การนอนหลับให้สนิทเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่งในช่วงเวลานี้
3.00-5.00 เวลาของปอด : ตื่นนอน สูดอากาศบริสุทธิ์

- เวลา 3.00 – 5.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของปอด ปอดควรได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เพื่อให้ระบบการหายใจได้ทำงานอย่างเต็มที่ เซลล์ต่าง ๆ ในอวัยวะภายในได้รับออกซิเจนอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สมอง สมองนั้นหากได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอหรือน้อยเกินไปแล้ว ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบความจำ ทำให้เป็นโรคความจำเสื่อมได้
- โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลา 4.00 – 5.00 น. ถือว่าเป็นช่วงที่อุณหภูมิร่างกายลดลงต่ำสุด ฉะนั้น ร่างกายเราควรได้รับความอบอุ่น ควรที่จะหลีกเลี่ยงสถานที่มีอากาศเย็น ช่วงนี้จึงเหมาะอย่างยิ่งต่อการตื่นนอนลุกขึ้นมาเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ ออกกำลังกายในยามเช้าทำให้ร่างกายอบอุ่น เป็นการช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้นยิ่งขึ้น คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจหรือปอดมีปัญหา หายใจไม่สะดวก ติดขัด มีไอ จาม น้ำมูก ต้องระวังดูแลตนเองในช่วงเวลานี้ให้มาก เพราะอาการมักจะกำเริบในช่วงเวลานี้ สังเกตได้ว่าบางคนตื่นนอนขึ้นมาแล้ว เป็นหวัด จาม ไอ นั่นเพราะท่านดูแลระบบหายใจ ปอดของท่านยังไม่ดีพอ อาจจะต้องพักผ่อนให้มากขึ้น นอนในที่มีอากาศอบอุ่นและถ่ายเทบ้าง ถ้าอยู่ในห้องแอร์ก็ไม่ชื้นจนเกินไป
5.00-7.00 เวลาของลำไส้ใหญ่ : ควรขับถ่ายอุจจาระ

- ในช่วงเวลา 5.00 – 7.00 น. เป็นเวลาของลำไส้ใหญ่ เพื่อใช้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย นอกจากนั้นยังมีการหลั่ง cortisol เพื่อช่วยทำหให้ร่างกายของเรากระปรี่กระเปร่าขึ้น ในช่วงเวลานี้จึงแนะนำว่าควรดื่มน้ำเพื่อให้กระตุ้นระบบขับถ่าย
- อีกอย่างตั้งแต่ช่วงนี้จนถึงช่วงหัวค่ำ ความดันเลือดในร่างกายของคนเราจะค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ฉะนั้น คนที่มีสุขภาพอ่อนแอ จะเกิดอาการคัดจมูก น้ำมูก หายใจติด ๆ ขัด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็นโรคหืด ต้องระมัดระวังไม่ให้อาการของโรคกำเริบได้
7.00-9.00 เวลาของกระเพาะอาหาร : ต้องรับประทานอาหารเช้า

- สำหรับในช่วงเวลา 7.00 – 9.00 น. เป็นช่วงเวลาที่กระเพาะอาหารควรได้รับอาหารที่มีประโยชน์ เนื่องจากว่าร่างกายต้องพลังงานตลอดทั้งวัน ฉะนั้น เราจึงควรรับประทานอาหารมื้อเช้าให้พอเพียงแก่ความต้องการของร่างกาย
- ผู้ป่วยเป็นโรคไมเกรน โรคภูมิแพ้ โรคไขข้ออักเสบ รูมาทอยด์ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะโรคเหล่านี้ มักจะกำเริบในช่วงเวลานี้
9.00-11.00 เวลาของม้าม : ไม่ควรนอนหลับเวลานี้

- สำหรับในช่วงเวลา 9.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาสำคัญในการทำหน้าที่ของม้ามและตับอ่อน ซึ่งม้ามจะทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้นแก่ร่างกาย และกำจัดขับไล่เม็ดเลือดแดงที่เสื่อมสภาพแล้ว
- ส่วนตับอ่อนนั้นจะทำหน้าที่ผลิตเอนไซม์มาช่วยในการย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก ฉะนั้น ร่างกายช่วงนี้จะมีความตื่นตัวเป็นอย่างมาก จึงเป็นช่วงที่เหมาะต่อการเริ่มทำงาน/ทำกิจกรรมต่าง ๆ พูดน้อย กินน้อย ไม่ใช่เวลาที่จะมานอนหลับ
11.00-13.00 เวลาของหัวใจ : หลีกเลี่ยงความเครียดทุกประเภท

- ในช่วงเวลา 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงที่เราควรให้ความสำคัญต่อหัวใจของเรา หัวใจนั้นเป็นอวัยวะที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดและสารอาหารต่าง ๆ ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- ในช่วงเวลานี้ระดับความดันเลือดในร่างกายของคนเรายังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ฉะนั้นคนที่มีหัวใจผิดปกติ จะรู้สึกเหนื่อยง่าย มีเหงื่อออกมากกว่าคนทั่วไป รู้สึกร้อนอบอ้าว หัวใจเต้นเร็วกว่าคนทั่วไป เวลานี้ควรที่จะหลีกเลี่ยงความเครียดทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิต อย่ามาครุ่นคิดในช่วงเวลานี้
13.00-15.00 เวลาของลำไส้เล็ก : งดกินอาหารทุกประเภท

- สำหรับช่วงเวลา 13.00 – 15.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของลำไส้เล็ก มีหน้าที่ในการย่อยและดูดซึมอาหาร หากว่าในมื้อกลางวันเราไม่ได้รับประทานอาหารหรืออาจจะรับประทานอาหารไม่อิ่ม ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่ายกาย ในช่วงนี้จะรู้สึกหิว เหนื่อยและทรมานจากการไม่รับประทานอาหาร
- ฉะนั้น จึงควรที่จะรับประทานอาหารมื้อกลางวันให้เพียงพอ แต่ให้มางดอาหารทุกชนิดในช่วงเวลานี้ อย่ากินของจุกจิก เพราะการทำเช่นนั้นเป็นการรบกวนหรือเพิ่มภาระในการทํางานของลําไส้เล็กได้ อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว ลำไส้เล็กมีหน้าที่ในการย่อย แยกแยะ และดูดซึมอาหารที่เป็นน้ำทุกประเภท อย่างเช่น วิตามินซี, วิตามินบี, และโปรตีนเป็นต้น และยังได้ทําหน้าที่ในการสร้างกรดอะมิโนช่วยซ่อมแซมในส่วนที่สึกหรออีกด้วย เสริมสร้างเซลล์สมอง ในเวลานี้สมองซีกขวาทํางานได้ดี ทั้งในเรื่องของความจํา การสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์งานต่าง ๆ
15.00-17.00 เวลาของกระเพาะปัสสาวะ : ออกกำลังกาย ทำให้เหงื่อออก

- ในช่วงเวลา 15.00 – 17.00 น. เป็นเวลาของกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งกระเพาะปัสสาวะนี้ทำหน้าที่เก็บน้ำเสียที่กรองจากไต รอถ่ายเทออกมาจากร่างกายอีกที ควรได้ดื่มน้ำพอสมควร อย่ากลั้นปัสสาวะ การกลั้นปัสสาวะนั้นจะทําให้ปัสสาวะดูดซึมย้อนกลับเข้าสู่กระแสเลือด เกิดเป็นของเสียสะสม มีผลกระทบต่อสมองในเรื่องความจํา ไทรอยด์ และระบบสืบพันธุ์อีกด้วย อีกทั้งยังต้องทําให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ด้วย
- โดยในช่วงเวลา 17.00 น. เป็นช่วงเวลาที่หลอดเลือดหัวใจ และกล้ามเนื้อมีความแข็งแรง เวลานี้จึงเหมาะแก่การออกกำลังกาย
17.00-19.00 เวลาของไต : ทำให้สดชื่น อย่างเพิ่งง่วงเหงาหาวนอน

- เวลา 17.00 – 19.00 น. เป็นช่วงเวลาหัวค่ำ ยังไม่ควรรีบเข้านอน เพราะจะทำให้นอนไม่หลับในช่วงกลางคืน และอาจจะเป็นเหตุให้ไตทำงานหนักมากขึ้น อาจจะเดินเล่น เดินออกกำลังกาย จับจ่ายตลาด ทำความสะอาดเช็ดถูภายในบ้าน หรือนั่งเล่นให้สบายใจ ช่วยเวลานี้เป็นเวลาของไต ไตทำหน้าที่ในการกรองของเสียออกจากเลือด และยังช่วยรักษาสมดุลในร่างกายอีกด้วย
- ในช่วงเวลา 18.30 น. ระดับความดันในเลือดจะเพิ่มขึ้นสูงสุดของวัน ช่วงนี้ควรได้ดื่มน้ำที่สะอาด ไม่ควรดื่มน้ำเย็น ควรดื่มอุณภูมิห้องเป็นดีที่สุด และไม่ควรนอนหลับในช่วงนี้ เพราะจะทำให้นอนไม่หลับในช่วงกลางคืน
19.00-21.00 เวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ : ทำจิตใจให้สงบ หรือสวดมนต์

- ช่วงเวลา 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาสำคัญของเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของหัวใจ เป็นช่วงเวลาของระบบหมุนเวียนโลหิต
- โดยในช่วงเวลา 19.00 น. นั้น อุณหภูมิของร่างกายจะเพิ่มขึ้นสูงสุดของวัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนัง ช่วงนี้ต้องระวังอาจจะมีอาการกำเริบได้
- ในช่วงเวลานี้ เป็นช่วงที่ร่างกายต้องการความสงบ หยุดนิ่ง จะช่วยให้จิตใจ เตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนที่จะเข้านอน ควรหลีกเลี่ยงที่ตื่นเต้น ที่ทำให้เหงื่อออก หรืออะไรที่ต้องใช้พลังงานเยอะ ๆ หรือรับประทานอาหารในปริมาณมากจนเกินไป เพราะจะทําให้นอนหลับยาก
- ช่วงเวลานี้ แนะนำให้ฟังเพลงเบา ๆ ดูข่าวที่ไม่เครียด ดูละครที่ทำให้รู้สึกสะบายใจ หรือทำสมาธิ สวดมนต์ไหว้พระ ฟังธรรมะเบา ๆ เป็นการเตรียมตัวก่อนนอนที่ดี
21.00-23.00 เวลาของพลังงานรวม : ห้ามอาบน้ำเย็น ร่างกายต้องอบอุ่น

- ในช่วงเวลา 21.00 – 23.00 น. เป็นช่วงเวลาของระบบทั้ง 3 (ภาษาอังกฤษ : triple heater) ได้แก่
- ระบบการหายใจ ซึ่งส่งผลต่อร่างกายช่วงบน อันมีหัวใจและปอด
- ระบบการย่อยอาหาร ซึ่งมีผลต่อช่วงกลางลำตัว ได้แก่ กระเพาะ อาหาร ม้าม ตับ
- ระบบการขับถ่าย ซึ่งมีผลต่อร่างกายช่วงล่าง ได้แก่ ไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้เล็ก
- ในช่วงเวลานี้ เป็นช่วงที่ร่างกายของคนเราต้องปรับสมดุลของร่างกาย ซึ่งเป็นช่วงที่อุณหภูมิของร่างกายจะค่อย ๆ ลดลง ไม่ควรอาบน้ำเย็น รการขับถ่ายอุจจาระจะหยุดพักชั่วคราว หมายความว่าถ้าร่างของคนเราปกติ ไม่ควรจะขับถ่ายเวลานี้ ร่างกายจะเริ่มหลั่งเมลาโทนิน ในช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ควรจะได้นอนหลับพักผ่อน แต่ควรที่จะได้ดื่มน้ำก่อน
23.00-1.00 เวลาของถุงน้ำดี : นอนต้องดื่มน้ำเสียก่อน

- ในช่วงเวลา 23.00 – 1.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของถุงน้ำดี ถุงน้ำดีทำการเก็บน้ำดีที่ได้จากตับ และยังส่งน้ำดีมาช่วยในการย่อยไขมันที่ลำไส้เล็กอีกด้วย ถ้าหากมีการดึงมากเกินไป ทําให้น้ำดีข้น เป็นผลทําให้สายตาเสื่อมได้ เหงือกบวม มีปวดฟัน นอนหลับยาก ปวดหัว ฉะนั้น จึงควรดื่มน้ำก่อนนอน ถุงน้ำดีและตับถือว่าเป็นอวัยวะที่ทำงานเกี่ยวเนื่องกัน มีความสัมพันธ์กันอย่างมากทีเดียว
แหล่งข้อมูล : นาฬิกาชีวิต เข็มทิศสุขภาพ,https://xn--12cs7an6e1a5bcqej.com/